รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ชัยยศ ธีรผกาวงศ์ หัวหน้าสาขาวิชามะเร็งนรีเวช ภาควิชาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล กล่าวว่า ผู้หญิงที่เป็นโรคมะเร็งปากมดลูกกว่า 99.7 เปอร์เซ็นต์ มักจะเกิดจากการติดเชื้อไวรัสชื่อเอชพีวี ( HPV- Human Papillomaviruses)
ในปัจจุบันพบว่าผู้หญิงไทยส่วนใหญ่เป็น มะเร็งปากมดลูกในระยะลุกลามซึ่ง ทำให้ยากต่อการรักษา และจากการศึกษาพบว่าโรคนี้มีความเกี่ยวข้องกับการมีเพศสัมพันธ์ โดยเฉพาะหญิงให้บริการทางเพศจะมีความเสี่ยงต่อโรคนี้สูงมาก เมื่อเทียบกับหญิงที่ไม่เคยมีเพศสัมพันธ์ นอกจากนั้นยังพบว่าเชื้อไวรัสที่เป็นสาเหตุของการเกิดโรคหูดหงอนไก่บริเวณอวัยวะเพศยังเป็นสาเหตุหนึ่งของโรคมะเร็งปากมดลูกด้วย
โดยทั่วๆไป คนที่จัดว่ามีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชพีวี ได้แก่
- คนที่มีคู่นอนติดเชื้อนี้มาก่อน
- คนที่มีคู่นอนหลายคน
- คนที่มีคู่นอนและคู่นอนมีเพศสัมพันธ์กับคนอื่นมากกว่าหนึ่งคน
- คนที่มีภูมิต้านทานในร่างกายอ่อนแอ (เช่นในช่วงที่กำลังตั้งครรภ์ หรือคนที่มีเชื้อเอชไอวี)
- คนที่แม้จะมีคู่แบบผัวเดียวเมียเดียว แต่คู่ติดเชื้อมาจากการมีเพศสัมพันธ์กับคนอื่นมาก่อน
- การสูบบุหรี่เป็นประจำ
- การรับประทานอาหารที่เป็นโทษกับร่างกาย เช่น อาหารที่มีสารเคมีประกอบ
- การใช้ยาฮอร์โมนเป็นประจำ
- มีลูกคนแรกตอนอายุน้อยเกินไป
- มีลูกมาก
- ติดเชื้อเอดส์ ซึ่งมีผลให้ภูมิต้านทานของร่างกายอ่อนแอลง
- พฤติกรรมทางเพศของฝ่ายชายที่มีคู่นอนหลายคน ทำให้มีโอกาสจะนำเชื้อเอชพีวีมาติดฝ่ายหญิงได้มากขึ้น
- แม่ พี่สาว หรือน้องสาว เคยเป็นมะเร็งปากมดลูก
มะเร็งปากมดลูกแตกต่างจากมะเร็งชนิดอื่น ตรงที่มี "ระยะก่อนเป็นมะเร็ง"ยาว โดยทั่วไปตั้งแต่ได้รับเชื้อไวรัสจนกลายเป็นมะเร็งเฉลี่ยระยะเวลาประมาณ 10 ปี ช่วยให้มีโอกาสตรวจพบโรคตั้งแต่ระยะก่อนที่จะกลายเป็นมะเร็ง
การตรวจเช็คมะเร็งปากมดลูก
การตรวจมะเร็งปากมดลูกนั้นเหมือนการตรวจ ภายในทั่วไป ผู้หญิงทุกคนที่เคยผ่านการมีเพศสัมพันธ์ควรได้รับการตรวจ ซึ่งการตรวจไม่ได้มีความเจ็บปวดแต่อย่างใด เนื่องจากเครื่องมือที่ใช้ในการตรวจมีขนาดแตกต่างกันตามความเหมาะสมของผู้ รับการตรวจในแต่ละราย
แพทย์ผู้ตรวจเพียงแต่ป้ายเซลล์จากบริเวณ ปากมดลูก เพื่อนำไปย้อมและตรวจด้วยกล้องจุลทรรศน์ก็สามารถบอกถึงเซลล์ผิดปรกติที่เกิด ขึ้นในระยะก่อนเป็นมะเร็ง โดยสามารถไปตรวจได้ที่คลินิกหรือโรงพยาบาลทุกแห่ง ซึ่งค่าบริการค่อนข้างถูก ที่สำคัญ การรักษาในระยะนี้จะรักษาได้ง่ายและค่าใช้จ่ายต่ำ แต่ปัญหาที่เราประสบคือ ผู้หญิงส่วนใหญ่ไม่ได้มารับการตรวจ เพราะอาจจะอับอาย กลัวว่าจะเจ็บปวด และเกิดจากความเข้าใจผิดว่าทำไมจะต้องไปรับการตรวจโดยที่ไม่มีอาการผิดปรกติ ใดๆ ซึ่งตามความเป็นจริงแล้ว ผู้ป่วยระยะก่อนเป็นมะเร็งไม่มีอาการผิดปรกติใดๆ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ส่งผลให้ประเทศไทยของเรามีผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกเป็นจำนวน มาก
เตรียมตัวก่อนเข้าห้องตรวจ
1. ตรวจ 1 สัปดาห์หลังหมดประจำเดือน
2. ผู้รับการตรวจควรงดการมีเพศสัมพันธ์ เหน็บยา หรือสวนล้างช่องคลอด 24-48 ชั่วโมงก่อนตรวจ
ผู้หญิงเราควรไปตรวจมะเร็งปากมดลูกบ่อยแค่ไหน
เราควรไปตรวจมะเร็งปากมดลูกทุกๆ 3 ปีเป็นอย่างต่ำ แต่ถ้าไม่สะดวกที่จะไปรับบริการ ก็ควรไปตรวจอย่างน้อยทุกๆ 5 ปี โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้ามีอายุ 35 ปีขึ้นไป
และถ้ามีปัจจัยต่างๆ ต่อไปนี้ ก็ควรไปตรวจมะเร็งปากมดลูกอย่างสม่ำเสมอ
- มีอายุมากกว่า 35 ปี
- มีเพศสัมพันธ์ครั้งแรกตอนที่อายุน้อยมากหรือหลังจากที่มีประจำเดือนได้ไม่กี่ปี
- เคยมีความสัมพันธ์ทางเพศกับคนหลายคน หรือมีคู่รักที่มีเพศสัมพันธ์กับคนอื่นนอกเหนือจากเรา
- เคยเป็นโรคติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์มาก่อน
- เป็นผู้ติดเชื้อเอดส์
- ติดบุหรี่
- เคยไปตรวจแล้วพบว่ามีความผิดปรกติเล็ก น้อย กรณีนี้ควรไปตรวจซ้ำทุกปีหรือสองปี เพื่อให้แน่ใจว่าเนื้อเยื่อผิดปรกตินั้นหยุดการเจริญเติบโตแล้วอย่างแน่นอน
สุภาพสตรี..ที่จำเป็นต้องทานอาหารเสริม
• ผู้หญิงทุกคนทีมีอาการปวดท้องประจำเดือนหรือมีตกขาวมาก
• ผู้ที่อยู่ในวัยหมดประจำเดือน
• ผู้ที่ต้องการตัดเอามดลูกออก หรือผ่าทำหมัน
• ผู้ที่ไม่มีความสุขเรื่องชีวิตครอบครัว มีเพศสัมพันธ์เจ็บ
• ผู้ที่ต้องการบำรุงและแก้ไขปัญหาผิวพรรณต่างๆ
• ผู้ที่ต้องการกระชับสัดส่วน เช่น หน้าอก แก้ม คาง ถุงใต้ตา
• ต้นแขน ต้นขา หน้าท้อง เอว บั้นท้าย และอื่นๆ
• เพื่อให้ผิวพรรณสดใส เปล่งปลั่ง มีน้ำมีนวล
• กำจัดสิว ฝ้า กระ จุดด่างดำ
• ผู้ที่ปัสสาวะบ่อย ปัสสาวะกระปิดกระปอย กลั้นปัสสาวะไม่อยู่
• ผู้ที่มีผิวแห้งมาก ขาดความชุ่มชื่น ไม่มีชีวิตชีวา
• ผู้ทีคลอดบุตร ทั้งคลอดเองที่ไม่ได้อยู่ไฟ และผ่าคลอด
• ผู้ที่ต้องการมีบุตร หรือมีบุตรมาก เพราะมดลูกไม่ปกติ
• ผู้ที่ต้องการจะทำรีแพร์ ช่องคลอดไม่กระชับ
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น